โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง ด้านการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (ประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่)  เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติรุ่นที่ 1

หลักสูตร : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง ด้านการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (ประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่) เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติรุ่นที่ 1 วันที่ 14 May - 19 June 2016

วันที่ : 14 May - 19 June 2016

หลักสูตร : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง ด้านการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (ประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่) เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติรุ่นที่ 1

วิทยากร : . ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ ปฏิทัศน์

สถานที่ :

download : ใบสมัคร | รายละเอียด |

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง

ด้านการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (ประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่)

เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติรุ่นที่ 1

ระหว่าง เดือนเมษายน – กรกฎาคม2559

โดย สมาคมนักวิจัย

หลักการและเหตุผล

          การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทุก ๆ ด้านของประเทศไทยในเวทีโลก แม้รัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการวิจัยของชาติและมีนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากในประเทศไทยแต่กลับพบว่าเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรเพื่อสนับสนุนการวิจัยในแต่ละปีนั้นยังไม่สามารถถูกนำมาใช้สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศไทยได้ทั้งหมดเนื่องจากนักวิจัยจำนวนมากยังไม่สามารถพัฒนา ข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกลั่นกรองกำหนดไว้

คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2521 ได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีหน้าที่ประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เสนอของบประมาณประจำปี โดยพิจารณาข้อเสนอการวิจัยทางด้านวิชาการ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนวิจัยส่วนรวม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน เพื่อการประสานงานและประสานประโยชน์ร่วมกัน และเพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดินที่มีอยู่จำกัด ตลอดจนการติดตามผลแผนงานและโครงการวิจัย ซึ่ง วช. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2523 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีหน่วยงานภาครัฐระดับกรมจัดส่งข้อเสนอการวิจัยเพื่อประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จำนวน 142 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 6,989 โครงการ งบประมาณ 6,763,083,790 บาท สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ทำการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  จากการประเมินผลพบว่า มีข้อเสนอการวิจัยที่สมควรได้รับการสนับสนุน จำนวน 4,466 โครงการ งบประมาณ 4,569,974,703 บาท คิดเป็นร้อยละ 67.57 ของงบประมาณที่หน่วยงานภาครัฐเสนอขอมาทั้งหมด และมีข้อเสนอโครงการวิจัยที่ไม่สมควรได้รับการสนับสนุน 2,523 โครงการ งบประมาณ 2,193,109,087 บาท (http://www.nrct.go.th/ สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2559) ปริมาณโครงการวิจัยที่ไม่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวข้างต้นเป็นดรรชนีชี้วัดการสูญเสียโอกาสของประเทศชาติอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาอย่างเร่งด่วน

สมาคมนักวิจัยเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะการการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติจึงดำเนินการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันหาทางแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ได้ข้อสรุปว่าเห็นสมควรให้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรมุ่งเป้าการใช้งานได้จริงด้านการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยทุกระดับและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคตอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการอบรม

1.      พัฒนาผู้เข้ารับการอบรมให้ทราบเทคนิคการการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติแบบมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง

2.      พัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีทักษะการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติแบบมุ่งเป้าการใช้งานได้จริง

3.      เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยของตนเองเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติได้จริง

 

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.      ผู้ผ่านการอบรมทราบเทคนิคการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานวิจัยเชิงปริมาณได้จริง

2.      ผู้ผ่านการอบรมมีทักษะการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติอย่างถูกต้อง

3.      ผู้ผ่านการอบรมสามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยของตนเองเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานระดับชาติได้

4.      สมาคมนักวิจัยได้แสดงบทบาทการเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พัฒนาสมรรถนะการวิจัยให้แก่นักวิจัยไทยทุกระดับ