โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยและบูรณาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม: ศึกษากรณีประเทศไทย- เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 และศึกษาดูงานระหว่าง วันที่ 21-28 ตุลาคม2559

หลักสูตร : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยและบูรณาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม: ศึกษากรณีประเทศไทย- เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 และศึกษาดูงานระหว่าง วันที่ 21-28 ตุลาคม2559 วันที่ 21 October - 28 October 2016

วันที่ : 21 October - 28 October 2016

หลักสูตร : โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยและบูรณาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม: ศึกษากรณีประเทศไทย- เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 และศึกษาดูงานระหว่าง วันที่ 21-28 ตุลาคม2559

วิทยากร : วิทยากร ผศ.ดร.พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ (ผอ.ศูนย์ฯ) คุณดอกกวี ทิพยมาศ (ผู้เชี่ยวชาญการเดินทางระดับโลก) มาสเตอร์อุทัย ธารีจิตร (ปราชญ์ทางด้านประวัติศาสตร์แห่งอัสสัมชัญ)

สถานที่ :

download : รายละเอียด |

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยและบูรณาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม:

ศึกษากรณีประเทศไทย- เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559

และศึกษาดูงานระหว่าง วันที่ 21-28 ตุลาคม2559

โดย สมาคมนักวิจัย

หลักการและเหตุผล

ความเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกสามารถเดินทาง ติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงกระบวนการปฏิสังสรรค์ (Interaction) โดยอาศัยสื่อต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงบุคคลอื่นที่อยู่คนละสถานที่ในที่ต่างๆทั่วโลกได้โดยง่ายดายจึงมีประโยชน์และคุณค่าที่หลากหลาย

:ประวัติของประเทศเดนมาร์ก หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง ประวัติศาสตร์ของเดนมาร์กเริ่มตั้งแต่ที่ชนชาติเดนส์(Denes)  อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากสวีเดน ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเดนมาร์กได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1528 และได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2392 ซึ่งเป็นปีที่รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เคยครอบคลุมถึงสวีเดนและนอร์เวย์ จนกระทั่งสวีเดนแยกตัวออกไป เมื่อปี พ.ศ. 2066 และเดนมาร์กสูญเสียนอร์เวย์ให้แก่สวีเดน ภายใต้สนธิสัญญา Kiel เมื่อปี พ.ศ. 2357 ปัจจุบัน เดนมาร์กเป็นราชอาณาจักร โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอ ที่ แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2515 และทรงเป็นประมุขแห่งเดนมาร์ก ลำดับที่ 52 เดนมาร์กมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในกรุงโคเปนเฮเกนล้วนมีสถานที่ที่สวยงามและน่าสนใจมากมาย เดนมาร์กยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหมือนกับประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอื่นๆ

:ประวัติของประเทศไอซ์แลนด์ หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ เป็นประเทศนอร์ดิก ในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14  และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา ไอซ์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กหลังการแยกตัวของสหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์  ประเทศไอซ์แลนด์ได้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2417 ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐ ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยเป็นระบอบรัฐสภา ไอซ์แลนด์มีรัฐธรรมนูญแบบเป็นลายลักษณ์อักษร ประธานาธิบดีแห่งไอซ์แลนด์ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง  ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไอซ์แลนด์คือโอลาฟือร์ รักนาร์ กริมส์ซอน ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 2543 และ 2547 อุตสาหกรรมหลักของไอซ์แลนด์คืออุตสาหกรรมประมง โดยสินค้าทะเลมีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 1.2 แสนล้าน วัฒนธรรมไอซ์แลนด์มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมแบบสแกนดิเนเวียโบราณ(นอร์ส)  ท่าอากาศยานเรคยาวิกเป็นท่าอากาศยานในประเทศ สายการบินแห่งชาติของไอซ์แลนด์คือไอซ์แลนด์แอร์ (Icelandair)

วัตถุประสงค์ของการอบรม

1) เพื่อให้นักวิชาการและนักวิจัยร่วมกันกำหนดโจทย์วิจัย (Research Questions) ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยบูรณาการนโยบายพัฒนาด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม: ศึกษากรณีประเทศไทย- เดนมาร์กและไอซ์แลนด์ให้แก่นักวิจัยผู้สนใจที่จะนำไปศึกษาวิจัยต่อยอด (Research Innovation) และประยุกต์ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป

2) เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) ที่สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยบูรณาการนโยบายพัฒนาในลักษณะสหวิทยาการ

3) เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะ และสร้างเครือข่ายในกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมจาก

สหวิทยาการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ได้โจทย์วิจัยที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยบูรณาการนโยบายพัฒนาในลักษณะสหวิทยาการที่ครอบคลุมการวิจัยเชิงนโยบายทางด้านการพัฒนาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

2) สามารถกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) ที่สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

3) ได้แนวคิดและองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะช่วยอธิบายถึงความแตกต่างของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของกลุ่มคนจากชนชาติที่แตกต่างกันเพื่อเสริมทักษะและพัฒนาต่อยอดงานวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

4) สร้างเครือข่ายเชิงบูรณาการในหมู่นักวิชาการและนักวิจัย ร่วมคิด ร่วมทำ เป็นทีม เพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของแหล่งสนับสนุนเงินทุนวิจัยซึ่งต้องการให้ผู้วิจัยจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีลักษณะเป็นชุดแผนงานโดยให้มีบูรณาการการทำงานวิจัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการและนักวิจัยในภาคส่วนต่างๆ


สถานที่วัน และเวลา

ระยะเวลาอบรมทั้งสิ้น วัน 5 คืน ตั้งแต่วันที่ 21-28 ตุลาคม 2559 ดังนี้

1) อบรมในประเทศไทย วัน ณ อาคาร KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2559 เวลา 9.00 – 16.00 น.

2) ศึกษาดูงานตั้งแต่วันที่ 21-28 ตุลาคม 2559  ณ ประเทศเดนมาร์กและประเทศไอซ์แลนด์